วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ความรู้เกี่ยวกับโรคปวดกล้ามเนื้อ(Muscle Pain)


เรามารู้จักกับกล้ามเนื้อกัน

                                                              IMAGE SOURCE :http://www.idoctorhouse.com

        กล้ามเนื้อทำหน้าที่ในการหด และ ยืดตัว เพื่อเกิดการเคลื่อนไหว เราแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน

        กล้ามเนื้อลาย  ทำงานภายใต้ความคิดของเรา คือเราสามารถสั่งการได้ เช่นกล้ามเนื้อ 
แขน ขา
        กล้ามเนื้อหัวใจ  ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้

        กล้ามเนื้อเรียบ  ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติเช่นกัน พบได้ในทางเดินอาหาร


การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ

                                                              IMAGE SOURCE :http://www.idoctorhouse.com
        
           มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิต ที่ได้รับการพัฒนาเรื่องกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ จนทำให้จัดอยู่ในกลุ่ม “สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง” แต่สิ่งเหล่านี้พิเศษอย่างไร และทำไมต้องพัฒนาให้มีกระดูกสันหลังด้วย ลองศึกษาความพิเศษของร่างกายเราดูครับ จะได้เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น การเคลื่อนไหวของร่างกาย การเป็นตะคริว และอาการปวดกล้ามเนื้อ

เราให้ความสำคัญกับ “กล้ามเนื้อลาย” เป็นหลัก

          ที่เรียกว่า กล้ามเนื้อลาย เพราะลักษณะจากกล้องจุลทรรศน์  เมื่อมองลงไปจะพบการเรียงตัวของ เซลล์กล้ามเนื้อ มีช่วงหนาแน่น และ เบาบาง ทำให้เกิดลักษณะลายขึ้นมา การหดตัวของกล้ามเนื้อนี้ได้รับคำสั่งจากเส้นประสาทสั่งการลงมา ให้เกิดการสไลด์เข้าหากันของเซลล์กล้ามเนื้อ (sliding-filament theory) ซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อที่มีความสำคัญคือ Actin (แอคติน) และ Myosin (ไมโอซิน)  โดยมีสารสื่อประสาท  พลังงาน และ แคลเซียมทำงานร่วมกัน  

ดูวีดีโอเพื่อความเข้าใจกัน

                                                          Video source: https://www.youtube.com/watch?v=BNe2rHuVLE8

ปวดกล้ามเนื้อคืออะไร

                                                                    IMAGE SOURCE :https://mahosot.com
  
          โรคปวดกล้ามเนื้อ  คือ ภาวะตึง ปวดหรืออักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งตามกล้ามเนื้อมัดเดียวหรือหลายมัด มักมีสาเหตุจากการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ หรือมากเกินไปจากการทำกิจกรรมประจำวัน โดยเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

อาการปวดกล้ามเนื้อ

          อาการปวดกล้ามเนื้ออาจเกิดขึ้นได้ทันทีหรือหลังจากใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก ปกติแล้วผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อสามารถบอกสาเหตุของอาการปวดได้ด้วยตัวเอง อาจปวด อักเสบ หรือระบมที่กล้ามเนื้อเพียงจุดเดียวหรือทั่วร่างกาย

สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ

        โดยทั่วไปผู้ที่เผชิญอาการปวดกล้ามเนื้อสามารถระบุสาเหตุได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความเครียด หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ
เช่น  
          1. การใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไปหรือเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดความตึงเครียดสะสมที่กล้ามเนื้อ
          2. การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจนทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เช่น การออกกำลังกาย การทำงาน เป็นต้น

การวินิจฉัยอาการปวดกล้ามเนื้อ

หากแพทย์สงสัยหรือพบว่าผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายที่ไม่ใช่การปวดกล้ามเนื้อแบบธรรมดา แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมดังนี้

   1.     ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เช่น จำนวนเม็ดเลือดแดง จำนวนเม็ดเลือดขาว 
จำนวนฮีโมโกลบินในเลือด ขนาดของเม็ดเลือด รวมไปถึงจำนวนของเกล็ดเลือด
   2.     ตรวจหาความผิดปกติของเอ็นไซม์และเนื้อเยื่อ

การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ

            การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากสาเหตุทั่วไป จากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ด้วยต้วเองที่บ้าน โดยวิธีการ
ดังนี้
        1.     พักผ่อนร่างกายจากกิจกรรมที่เป็นสาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อ

2.     รับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโปรเฟน พาราเซตามอล
3.     ประคบร้อนและประคบเย็น ในช่วง 1-3 วันแรก ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งห่อผ้าในบริเวณที่มีอาการปวดของกล้ามเนื้อ และหลังจากนั้นประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการและลดการอักเสบ
4.     ยืดและบริหารกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดด้วยความระมัดระวัง
5.     นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือทำกิจกรรมที่ช่วยบรรเทาความเครียด เช่น การออกกำลังกายประเภทโยคะ หรือการนั่งสมาธิ
6.     ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิก ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้มีสุขภาพที่ดีได้ หลีกเลี่ยงการออกแรงยกของหนักในช่วงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดกล้ามเนื้อสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้
เช่น    
1.     ปัญหาการนอนหลับ เนื่องจากอาการปวดกล้ามเนื้อจะรบกวนเวลานอน ควรหาท่านอนที่เหมาะสมเพื่อไม่ได้เกิดการสัมผัสบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจนต้องตื่นมากลางดึก
2.     โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) มีรายงานวิจัยพบว่า อาการปวดกล้ามเนื้ออาจพัฒนาไปสู่โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ซึ่งเป็นภาวะเรื้อรังที่มีอาการปวดไปทั่วร่างกาย ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีประสาทสัมผัสไวขึ้นต่ออาการปวด

การป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ

วิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากความเครียดหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เริ่มได้จากตนเอง 

ดังนี้ 
        1. ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน รวมทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย
        2. ยืดกล้ามเนื้อก่อนทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้แรง รวมทั้งหลังออกกำลังกาย
        3. อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย(Warm Up) และหลังออกกำลังกาย(Cool Down)
        4. พนักงานออฟฟิสหรือผู้ที่นั่งทำงานประจำที่โต๊ะ หมั่นลุกขึ้นยืน หรือเดินยืดเส้นยืดสายอย่างน้อยทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง


เอกสารอ้างอิง

พบแพทย์
แหล่งที่มา: https://www.pobpad.com.ปวดกล้ามเนื้อ
นายแพทย์ธีรวัฒน์ สุวรรณี
แหล่งที่มา: http://www.idoctorhouse.com/library/physiology-muscle.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรมโรคปวดกล้ามเนื้อ

นวัตกรรม Amazing Bag คลายปวดเมื่อย               หลักการและเหตุผล                  เนื่องจากชุมชนบ้านหนองยาว ตำบลโพนงาม อำเภอเดชอ...